News

การผลิตในแบบ Industry 4.0 ต้องไม่ใช่แค่การเน้นปริมาณ แต่สินค้าที่ผลิตออกมาจะต้องได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของตลาดด้วย ซึ่งถ้ามีการพัฒนาแพลตฟอร์ม IIoT นำมาใช้งานในการผลิตและเชื่อมโยงการทำงานบนเครือข่าย 5G ที่มีประสิทธิภาพ เสถียรและรวดเร็ว ก็จะทำให้ระบบ Sensor หรือ Controller ของเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์การผลิตนั้นตอบสนองในการผลิตได้อย่างแม่นยำมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้สินค้าที่ผลิตออกมามีมาตรฐานที่ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

 

 

ทำให้การวางแผนเป็นไปได้ง่ายดาย

Industry 4.0 เป็นยุคที่การผลิตต้องเกิดขึ้นภายใต้ “ข้อมูล” ในทุกกระบวนการผลิตจะต้องมีข้อมูลเป็นฐานในการขับเคลื่อน หากผู้ผลิตมีการวางโครงสร้างทางด้านไอทีมาอย่างลงตัวแล้ว มีเทคโนโลยี Cloud ที่ทำงานอยู่บนสถาปัตยกรรมเครือข่าย 5G ที่เหมาะสมกับภาคอุตสาหกรรมโดยตรง อย่างระบบ MEC (Multi-Access Edge Computing) และเชื่อมต่อการทำงานกับเครื่องจักรการผลิตบนแพลตฟอร์ม IIoT ก็จะทำให้วางแผนการผลิตง่ายขึ้น ตั้งแต่

 

• ก่อนเริ่มการผลิตที่ผู้ผลิตจะต้องมีข้อมูลความต้องการของตลาดที่อัปเดตแบบเรียลไทม์ เพื่อวางแผนคำนวณความสามารถในการผลิตในแต่ละครั้ง ว่าความสามารถในการดำเนินการของเครื่องจักร ทั้งอัตราความเร็วในการผลิตและระยะเวลาที่ต้องใช้นั้นอยู่ที่เท่าไหร่
• ขณะดำเนินการผลิตสามารถที่จะมอนิเตอร์การผลิตที่ไซต์งานต่าง ๆ ได้ตลอดเวลารวมไปถึงตรวจจับคาดการณ์ความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิตได้ทันที ทำให้สามารถที่จะปรับเปลี่ยนแผนการผลิตได้ทันเวลา รวมถึงยังพอที่จะคาดการณ์ได้ว่าหากจำเป็นต้องหยุดการผลิตไปชั่วขณะจริง ๆ จะต้องหยุดนานแค่ไหน และจะกลับมาผลิตต่อได้ตามเดิมเมื่อใด
• หลังการผลิตเครื่องจักรการผลิตที่ทำงานแบบ IIoT จะมี Sensor ที่ช่วยในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะทำการผลิตเอาไว้และจะทำการส่งข้อมูลเหล่านี้ไปไว้ในระบบฐานข้อมูล ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อบุคลากรที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลระบบ เพราะจะทำให้ทราบได้ว่ามีความผิดพลาดตรงไหนเกิดขึ้นบ้าง หรือคาดการณ์ได้ว่าควรจะเริ่มกระบวนการบำรุงรักษาเครื่องจักรในช่วงไหน


ลดความผิดพลาดในการผลิตได้ดี

 

การผลิตในรูปแบบของ Industry 3.0 นั้นยังต้องอาศัยบุคลากรด้านแรงงานและผู้เชี่ยวชาญอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ด้วยขีดจำกัดในการทำงาน ทำให้ไม่สามารถที่จะควบคุมดูแลเครื่องจักรการผลิตได้ตลอดทุกช่วงเวลา ความผิดพลาดจึงอาจเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้ ยิ่งถ้าเป็นช่วงเวลาที่ต้องเร่งการผลิตเพื่อให้ทันต่อความต้องการ บางองค์กรต้องเดินหน้าผลิตกันตลอด 24 ชั่วโมง จำเป็นที่จะต้องให้พนักงานสลับสับเปลี่ยนกันมาช่วยควบคุมดูแลเครื่องจักร ก็จะส่งผลให้องค์กรต้องลงทุนในเรื่องของบุคลากรเพิ่มเติมเพื่อลดความผิดพลาด แต่ถึงอย่างไรความผิดพลาดก็ยังมีอยู่ เพราะความเชี่ยวชาญของแต่ละคนไม่เท่ากัน

แต่ถ้าอุตสาหกรรมการผลิตยกระดับมาใช้ระบบ IIoTในการผลิตก็จะลดความผิดพลาดในการผลิตลงได้มาก เพราะเครื่องจักรต่าง ๆ จะสามารถสื่อสารเชื่อมโยงถึงกันและสามารถดำเนินการผลิตเองได้แบบอัตโนมัติ และเมื่อควบคุมด้วยเทคโนโลยีจึงทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยมาก

 

 

บทความโดย The Superapp IoT

5 ข้อดีของระบบ IIoT ว่าทำไมอุตสาหกรรมการผลิตควรยกระดับ

5 ข้อดีของระบบ IIoT มีอะไรบ้าง และระบบ IIoT ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน แต่ยังส่งเสริมความปลอดภัยและสร้างความยั่งยืนให้กับโรงงานในระยะยาว

Read More