News

 

 

  1. ความสูญเสียที่เกิดจากการหยุดเล็กๆ น้อยๆ และการเดินเครื่องตัวเปล่า (MINOR STOPPAGE AND IDLING LOSSES) เป็นความสูญเสียที่เกิดจากเครื่องมีการขัดข้อง ทำให้เครื่องปิดฉลากหยุดการผลิตเป็นช่วงสั้นๆ จากประสบการณ์ ความสูญเสียประเภทนี้มีอยู่มากในการผลิตจริง เพราะถึงแม้หยุดเล็กๆ น้อยๆ แต่พบว่าในวันหนึ่งๆเกิดบ่อยครั้ง เมื่อรวมเวลาที่หยุดเล็กๆ น้อยๆ ทั้งวัน อาจพบว่ามีมากกว่าการหยุดเนื่องจากการขัดข้องของเครื่องจักรเสียอีก
  2. ความสูญเสียที่เกิดจากการผลิตของเสียและการแก้ไขงาน (DEFECT AND REWORK)เป็นความสูญเสียที่เกิดจากเครื่องผลิตสินค้าไม่ตรงตามข้อกำหนดของลูกค้า ความสูญเสียประเภทนี้ โรงงานส่วนใหญ่จะมีการจดบันทึกกันอยู่แล้ว โดยการจัดเก็บข้อมูลความสูญเสียประเภทนี้ ควรจะบันทึกแยกตามลักษณะของการเสีย และแยกตามชนิดของเครื่องในกรณีที่เป็นกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง เพื่อที่จะสะดวกในการนำเอาข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไป
  3. ความสูญเสียที่เกิดขึ้นช่วงเริ่มต้นผลิต (START UP LOSSES)เป็นความสูญเสียของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเครื่องในช่วงเริ่มต้นผลิต เช่น เริ่มเดินจากการหยุดประจำสัปดาห์ การเดินเครื่องปิดฉลากหลังจากการหยุดซ่อม เป็นต้น ความสูญเสียประเภทนี้เป็นความสูญเสียด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ จะมีความสูญเสียมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของเครื่อง
  4. ความสูญเสียที่เกิดจากการขัดข้องของเครื่อง (BREAKDOWN LOSSES) เป็นความสูญเสียที่เกิดขั้นจากการขัดข้องของตัวเครื่อง หรือการหยุดเครื่อง โดยไม่มีการวางแผนการหยุดล่วงหน้า การบันทึกความสูญเสียประเภทนี้ควรจะต้องหยุดล่วงหน้า การบันทึกความสูญเสียประเภทนี้ควรจะต้องระบุลักษณะของการหยุดด้วย เพื่อที่จะนำไปวิเคราะห์ได้ตรงประเด็น
  5. ความสูญเสียที่เกิดจากการปรับตั้งและปรับแต่ง (SET UP AND ADJUSTMENT LOSSES)เป็นความสูญเสียที่เกิดจากการเปลี่ยนรุ่นการผลิตแต่ละครั้ง ซึ่งในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการผลิตเปลี่ยนไปผลิตแบบล็อตเล็กๆ (SMALL LOT PRODUCTION) มากขึ้นและความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้เราจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนการผลิตบ่อยครั้งขึ้น
  6. ความสูญเสียที่เกิดจากการสูญเสียความเร็ว (SPEED LOSSES)เป็นความสูญเสียที่เกิดจากความเร็วจริงที่ใช้ในการผลิตต่ำกว่าความเร็วตามมาตรฐานที่กำหนดของเครื่อง หรือของแต่ละผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้ผลิตสินค้าได้น้อยกว่าแผนตามระยะเวลาที่กำหนด

 

5 ข้อดีของระบบ IIoT ว่าทำไมอุตสาหกรรมการผลิตควรยกระดับ

5 ข้อดีของระบบ IIoT มีอะไรบ้าง และระบบ IIoT ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน แต่ยังส่งเสริมความปลอดภัยและสร้างความยั่งยืนให้กับโรงงานในระยะยาว

Read More